วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

โรคทางพันธุกรรมและโรคจาการประกอบอาชีพ









โรค ทางพันธุกรรม หมายถึง โรคที่มีความผิดปกติขององค์ประกอบของจีนและโครโมโซม ซึ่งจีนและโครโมโซมนี้เป็นตัวกำหนดลักษณะทางพันธุกรรม เมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้นจะทำให้
เกิดการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์จากพ่อแม่สู่ ลูกโดยตรง
ชนิดของโรคทางพันธุกรรม โรคทางพันธุกรรม จำแนกได้ 3 ชนิด คือ
1. โรคทางพันธุกรรมที่เกิดความผิดปกติในการแบ่งตัวของโครโมโซม
ขณะกำลังเกิดการปฏิสนธิ หรือขณะที่ไข่และอสุจิผสมกันเป็นตัวอ่อนแล้ว
2. โรคทางพันธุกรรมที่มีความผิดปกติในการเรียงตัวของโครโมโซม
3. โรคทางพันธุกรรมที่มีความผิดปกติในการแยกคู่ของโครโมโซมในระหว่างการแบ่งตัว








โรคทางพันธุกรรมที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ โรคทางพันธุกรรมที่พบได้บ่อย ได้แก่
1. โรคธาลัสซีเมีย เป็นโรค ทางพันธุกรรมที่มีความผิดปกติของสารสีแดงใน
เม็ดเลือด ทำให้ผู้ป่วยมีอาการโลหิตจางเรื้อรัง
2. โรคฮีโมฟีเลีย เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ปัจจัยการแข็งตัว ของเลือดผิดปกติ
ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเลือดออกไม่หยุดหรือหยุดยาก
3. โรคดาว์นซินโดรม เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เด็กจะมีอาการปัญญาอ่อน และ
หน้าตาดูแปลกไปจากปกติ มักพบในเด็กที่แม่ตั้งครรภ์เมื่ออายุเกิน 35 ปี




นอกจากโรคที่พบได้บ่อยทั้ง 3 โรค ดังกล่าวแล้ว โรคทางพันธุกรรมยังมีอีก
หลายชนิด ซึ่งแต่ละโรคล้วนทำให้เกิดความผิดปกติต่อมารดาโดยตรง บางโรคอาจทำให้คลอดยากโรคบางโรคยังมีผลต่อการเจริญเติบโตของทารก
ในครรภ์มีผล ต่อการเจริญ ของเซลล์สมอง อาจทำให้ทารกตายในครรภ์หรือ
พิการแต่กำเนิดได้วิธีการป้องกันโรค เหล่านี้ ไม่ให้เกิดขึ้นกับทารกในครรภ์
คือการปรึกษาแพทย์หรือรับการตรวจร่างกายทั้งสามีและภรรยา
ก่อนการตั้งครรภ์เสมอ






สิ่งที่ต้องรู้


โครโมโซมของคนเรามี 23 คู่ หรือ 46 แท่ง แบ่งออกเป็นสองชนิด คือ
- ออโตโซม (Autosome) คือโครโมโซมร่างกาย มี 22 คู่ หรือ 44 แท่ง
- เซ็กโครโมโซม ( Sex chromosome) คือโครโมโซมเพศ มี 1 คู่ หรือ 2 แท่ง


- โครโมโซมเพศ ในหญิงจะเป็นแบบ XX


- โครโมโซมเพศ ในชายจะเป็นแบบ XY






ความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมใน โครโมโซมร่างกาย (Autosome)
- เกิดขึ้นได้ทุกเพศและแต่ ละเพศมีโอกาสเกิดขึ้นเท่ากัน
- ลักษณะที่ถูกควบคุมด้วยยีนด้อยบนโครโมโซม ได้แก่ โรคธาลัสซีเมีย ผิวเผือก
เซลล์เม็ดเลือดแดงเป็นรูปเคียว
- ลักษณะที่ควบคุมโดยยีนเด่นบนโครโมโซม ได้แก่โรคท้าวแสนปม นิ้วมือสั้น คนแคระ






ความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมใน โครโมโซมเพศ ( Sex chromosome)
– เกิดขึ้นได้ทุกเพศ แต่โอกาสเกิดขึ้นจะมีมากในเพศใดเพศหนึ่ง
- ลักษณะที่ควบคุมโดยยีนด้อยบนโครโมโซม X ได้แก่ หัวล้าน ตาบอดสี โรคฮีโมฟีเลีย
โรคภาวะพร่องเอนไซม์ จี- 6- พีดี ( G-6-PD) โรคกล้ามเนื้อแขนขาลีบ การเป็นเกย์


เนื่องจากควบคุมด้วยยีนด้วยบนโครโมโซม X จึงพบในเพศชายมากกว่าในเพศหญิง
(เพราะผู้ชายมี X ตัวเดียว)




โรคที่เกิดจากความผิดปกติบนออโตโซม (Autosome)
ถ้าเป็นโรคจากความผิดปกติระดับโครโมโซม ได้แก่




- กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม ( down's syndrome)
สาเหตุเกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง เป็น 3 แท่ง เมื่อรวมทั้ง
โครโมโซมร่างกายและโครโมโซมเพศแล้วจะกลายเป็น 47 แท่ง
อาการของผู้ป่วย หางตาชี้ขึ้น ลิ้นจุกปาก ศีรษะแบน ดั้งจมูกแบน
ปัญญาอ่อน ไอคิว 20-150 พบบ่อยในแม่ที่ตั้งครรภ์ตอนอายุมาก
สำหรับกลุ่มมารดาที่มีอายุ 45 ปี ขึ้นไป ลูกมีโอกาสผิดปรกติแบบนี้สูงถึง 1/50 คน






กลุ่มอาการคริดูชาต์ หรือ แคทครายซินโดรม


(cri-du-chat or cat cry syndrome)






เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 5 ขาดหายไปบางส่วน ผู้ป่วยมีลักษณะของศีรษะเล็กกว่าปกติ
ปัญญาอ่อน หน้ากลม ใบหูอยู่ต่ำกว่าปกติ ตาห่างกัน ห่างตาชี้ขึ้น ดั้งจมูกแบน
คางเล็ก นิ้วมือสั้น การเจริญเติบโตช้า เวลาร้องเสียงเหมือนแมว จึงเรียกชื่อโรคนี้ว่า
แคทครายซินโดรม (Cat cry syndrome)




- กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ดซินโดม ( Edward's syndrome)


มีสาเหตุจากการที่โครโมโซมคู่ที่ 18 เกินมา 1 โครโมโซม นอกจากมีภาวะปัญญาอ่อนแล้ว
เด็กยังมีความพิการรุนแรง เช่น ปากแหว่ง เพดานโหว่ หัวใจพิการแต่กำเนิด


- กลุ่มอาการพาทัวซินโดม ( Patau syndrome)


มีสาเหตุจากการที่โครโมโซมคู่ที่ 13 เกินมา 1 โครโมโซม เด็กจะมีภาวะปัญญาอ่อน
และความพิการที่รุนแรงเกิดขึ้น เช่น อวัยวะภายในพิการ มักเสียชีวิตตั้งแต่แรกเกิด
และมักมีอายุสั้นมาก


- สถิติการเกิดเด็กปัญญาอ่อนทุกประเภททั่วประเทศประมาณ 450,000 คน มารดา
ที่มีอายุ 30 ปี มักให้กำเนิดเด็กปัญญาอ่อน ประมาณ 1 คน ในการคลอด 1,000 ครั้ง
และมารดาที่อายุ 44-45 ปี ให้กำเนิดเด็กปัญญาอ่อนประมาณ 25 คน ในการคลอด 1,000 ครั้ง


ภาวะปัญญาอ่อนที่เนื่องจากพันธุกรรม นอกจากจะมีความผิดปกติของโครโมโซม
ร่างกายหรือ ออโตโซม ( autosome) แล้วยังมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของโครโมโซมเพศ
ถ้าเป็นความผิดปกติในระดับยีนบนโครโมโซมร่างกายหรือออโตโซม อันทำให้เกิดเป็น
โรคทางพันธุกรรม ได้แก่ โรคธาลัสซีเมีย ( thalassemia) เป็นต้น




โรคธาลัสซีเมีย ( Thalassemia )
เกิดจากการสร้างสาร ฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นสารสีแดงในเม็ดเลือดแดง ลดน้อยลง
เม็ดเลือดแดงมีลักษณะผิดปกติและแตกง่าย ก่อให้เกิดอาการซีด เลือดจางเรื้อรัง
และมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา ผู้ที่เป็นโรคนี้ ได้รับยีนที่ควบคุมการสร้างเม็ดเลือดแดง
ผิดปกติมาจากทั้งพ่อและแม่ ผู้ป่วยจะมีอาการซีดเหลืองและตับม้ามโตมาตั้งแต่เด็ก
ร่างกายเติบโตช้า ตัวเตี้ย และน้ำหนักน้อยไม่สมอายุ หน้าแปลก จมูกแบน หน้าผากโหนกชัน
กระดูกแก้ม และขากรรไกรกว้างใหญ่ ฟันยื่นเขยิน ลูกตาอยู่ห่างกันมากกว่าคนปกติ
โรคที่เกิดจากความผิดปกติที่ถ่ายทอด ทางพันธุกรรมในโครโมโซมเพศ
( Sex chromosome)
- เกิดขึ้นได้ทุกเพศ แต่โอกาสเกิดขึ้นจะมีมากในเพศใดเพศหนึ่ง
ตาบอดสี (Color blindness)


ตาบอดสี คือ ภาวะ การมองเห็นสีผิดปกติ ส่วนใหญ่เป็นการบอดสีแต่กำเนิด
พบได้ 8% ของเพศชาย และ 0.5% ของเพศหญิง เพราะเป็นการถ่ายทอด
ทางพันธุกรรมแบบลักษณะด้อยบนโครโมโซมเพศ ทำให้มี cones
ไม่ครบ 3 ชนิด ส่วนใหญ่จะขาด red cones ทำให้แยกสีแดงจากสีเขียวไม่ได้
โดยความผิดปกติจะเกิดขึ้นกับตาทั้ง 2 ข้าง และแก้ไขไม่ได้ บางคนไม่มี
cones เลย จะเห็นแต่ภาพขาวดำ








ฮีโมฟีเลีย (Hemophilia)
เป็นโรคเลือดออกไหลไม่หยุด เพราะเป็นความผิดปกติทางพันธุกรรม
ที่ทำให้เลือดไม่สามารถแข็งตัวได้ อาการที่สังเกตได้ เช่น เลือดออกมากผิดปกติ
กำเดาไหลบ่อย ข้อบวม เกิดแผลฟกช้ำขึ้นเอง โดยโรคนี้จะทำให้ร่างกายขาดสาร
ที่ทำให้เลือดแข็งตัว โรคนี้สามารถรักษาโดยการใช้สารช่วยให้เลือดแข็งตัวทดแทน


ภาวะพร่องเอนไซม์ จี-6-พีดี(G-6-PD : Glucose-6-phosphate dehydrogenase)


เอนไซม์ จี- 6- พีดี ( G-6-PD) ย่อมาจาก Glucose-6-phosphate dehydrogenase
เป็นเอนไซม์ ที่มีอยู่ในเซลล์ทั่วไปของร่างกาย รวมทั้งเม็ดเลือดแดง ถ้าขาดเอนไซม์ชนิดนี้
จะทำให้เม็ดเลือดแดง พบมากในผู้ชาย ผู้หญิงก็มีโอกาสเป็นได้ แต่น้อยกว่าผู้ชายมาก
โรคนี้เฉลี่ยทั่วประเทศ พบได้ประมาณ 12% ของประชากรทั่วไป ทางภาคอีสานพบได้
12-15% ของประชากรทั่วไป และ ภาคเหนือพบได้ 9-15% ของประชากรทั่วไป






โรคที่เกิดจากความผิดปกติบนโครโมโซมเพศ ( Sex chromosome)


กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ ( Turner's syndrome)
เกิดในเพศหญิง มีสาเหตุจากการที่โครโมโซม X ขาดหายไป 1 โครโมโซม
จึงมีคารีโอไทป์เป็น 45, XO นอกจากอาจจะมีภาวะปัญญาอ่อนแล้วยังมีลักษณะตัวเตี้ย
ที่บริเวณคอมีพังผืดกางเป็นปีก และไม่มีประจำเดือนจึงเป็นหมัน
กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์ (Klinefelter's syndrome)
พบในเพศชาย สาเหตุจากการที่โครโมโซม X เกินมา 1 หรือ 2 โครโมโซม
จึงมีคารีโอไทป์เป็น 47 , XXY หรือ 48 , XXXY ลักษณะอาการนอกจากอาจจะม
ีภาวะปัญญาอ่อนแล้วยังมีรูปร่างอ้อนแอ่นตัวสูงชะลูด มีหน้าอกโต เหมือนผู้หญิง
เป็นหมัน ถ้ามีจำนวนโครโมโซม X มาก ก็จะมีความรุนแรง
ของปัญญาอ่อนเพิ่มขึ้น












โรคจากการประกอบอาชีพ


สาเหตุ จากสิ่งคุกคามสุขภาพที่เป็นสิ่งที่มีชีวิต เช่น เชื้อโรค และหนอนพยาธิต่างๆ สิ่งคุกคามทางชีวภาพส่วนใหญ่แล้วเป็นกลุ่มของโรคติดต่อจากคนสู่คน และโรคที่เป็นในสัตว์และติดต่อมาสู่คนได้ สิ่งคุกคามสุขภาพทางชีวภาพยังรวมถึงส่วนของสิ่งมีชีวิต เช่น ผุ่น ละออง ยาง น้ำเลี้ยง ที่มาจากพืชด้วย ซึ่งสามารถทำอันตรายต่อร่างกายได้เนื่องจากการที่มีสารเคมี หรือ เชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อร่างกายปนอยู่อาชีพที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคจากการประกอบอาชีพ
อาชีพเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ ล่าสัตว์ เช่น โรคแอนแทรกซ์ โรคไวรัสนำโดยแมลง เช่นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ กาฬโรค ค็อกซิดิดิโอไมโคสิส โรคจากเชื้อรา เลปโตรสไปโรสิต วัณโรค ไข้เหลือง ไข้เลือดออก พยาธิปากขอ มาเลเรีย
ก่อสร้าง ขุดดิน ทำท่อระบายน้ำเสีย เหมืองแร่ เช่น ค๊อกซิดิโอไมโคสิต ฮิสโตพลาสโมสิต โรคพยาธิปากขอ เลปโตสไปโรสิสบาดทะยัก บาดแผลติดเชื้อขายเนื้อสัตว์และปลา เช่น โรควัณโรควัว บรูเซลโลซิส โรคติดเชื้อรา คิวฟีเวอร์ ทูลารีเมียจับต้องสัตว์ปีกและนก เช่น โรคติดเชื้อรา โรคออร์นิโธสิส โรคไวรัสนิวคาสเซิล ไข้หวัดนก
จับต้องขนสัตว์หนังสัตว์ เช่น แอนแทรกซ์(Anthrax) คิวฟีเวอร์ (Q fever)สัตวแพทย์และการ


ดูแลสัตว์ป่วย เช่น วัณโรค บรูเซลโลสิต โรคติดเชื้อรา เลปโตสไปโรสิส โรคไวรัสนิวคาส


เซิล คิวฟีเวอร์ ทูลารีเมีย พิษสุนัขบ้า


แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ห้องชันสูตร เช่น ไวรัสตับอักเสบ วัณโรค และโรคติด


ต่างๆ ทำงานในสถานที่ที่มีอากาศอบอ้าวและชื้น เช่น ห้องครัว ห้องออกกำลังกาย สระว่าย


น้ำ เช่น โรคผิวหนังจากการติดเชื้อรา


กลไกการเกิดโรคจากการประกอบอาชีพที่เกิดจากสิ่งคุกคามทางชีวภาพ มี2 ขั้นตอน คือ


1. ขั้นตอนการได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย เกิดขึ้นเมื่อผู้ปฏิบัติงานไม่มีภูมิคุ้มกันโรค หรือไม่มี


ความต้านทานต่อโรค ได้รับสัมผัสกับสิ่งที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่


2. ขั้นตอนการทำอันตรายต่อร่างกายของเชื้อโรค เมื่อได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้ว และผู้ประกอบอาชีพที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคหรือไม่มีความต้านทานต่อเชื้อโรค เชื้อโรคนั้นจะสามารถเจริญเติบโตทำอันตรายต่อร่างกาย เป็นขั้นตอนจากที่ไม่มีอาการแสดงจนถึงมีอาการแสดงของโรคอย่างชัดเจน ตามชนิดของโรค เรียกว่าวงจรธรรมชาติของการเกิดโรควงจรธรรมชาติของการเกิดโรค ประกอบด้วยระยะต่างๆคือ
1. ระยะที่มีความไวต่อการเกิดโรค การทำงานหนักโดยไม่มีเวลาพักผ่อน ทำให้ร่างกายอ่อนแอ ความต้านทานโรคลดลงจึงมีความไวต่อการติดเชื้อ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคได้
2. ระยะของโรคก่อนมีอาการ เป็นระยะที่ยังไม่มีอาการแสดงของโรค แต่เริ่มมีพยาธิสภาพของโรคเกิดขึ้นแล้ว เช่นผู้ป่วยวัณโรคระยะแรกมักจะไม่พบอาการ
3. ระยะที่มีอาการของโรค ผู้ป่วยมีอาการและอาการแสดง เนื่องจากมีพยาธิสภาพของโรคเกิดขึ้นแล้ว ผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์ในระยะนี้
4. ระยะที่มีความพิการของโรค เป็นระยะหลังที่มีอาการเกิดขึ้นแล้ว แบ่งผู้ป่วยเป็น 3 ระยะคือ
- กลุ่มที่ป่วยแล้วหายเป็นปกติ


- กลุ่มที่ป่วยแล้วเกิดมีความพิการเกิดขึ้น เช่น โรคโปลิโอ เด็กที่เป็นมักจะมีความพิการของ


แขนขาเหลืออยู่


- กลุ่มที่ป่วยแล้วในที่สุดเสียชีวิต เช่น ผู้ป่วยโรคเอดส์ ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบอาการและอาการแสดงของ


โรคจากการประกอบอาชีพที่เกิดจากสิ่งคุกคามทางชีวภาพอาการและอาการแสดงระยะเริ่มแรกของโรค


กลุ่มนี้ส่วนใหญ่แล้วเป็นอาการที่ไม่มีลักษณะเฉพาะ แต่มักจะนำไปสู่การสันนิษฐานโรคได้หากมีข้อมูล


ปัจจัยด้านการประกอบอาชีพเกี่ยวข้องกับการเกิดโรค ที่เหมาะสมมีอาการป่วยรุนแรง ร่วมกับอาการ


ปวดศีรษะและอาการทางระบบประสาท ได้แก่ โรคบรูเซลโลสิต โรคเลปโตสไปโรสิสโรคมาเลเรีย โรค


กลัวน้ำ โรคทรีปาโนโสมิเอสิส


มีอาการไข้ร่วมกับปัญหาระบบการหายใจ หรือปอดบวม ได้แก่ ค๊อกซิดิโอไมโคสิส ฮิตโตพลาสโมสิส


ออร์นิโธสิส คิวฟีเวอร์วัณโรคมีอาการทางระบบทางเดินอาหาร ตามด้วยการมีปัสสาวะสีเข้ม และดีซ่าน


ได้แก่ โรคตับอักเสบจากไวรัส หรือแลปโตสไปรามีกล้ามเนื้อเกร็ง กระตุก ที่เจ็บปวดมากโดยเฉพาะที่


ขากรรไกรล่าง ได้แก่ บาททะยัก


มีอาการอ่อนเพลีย และโลหิตจางที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และร่วมกับมีเลือดปนในปัสสาวะหรือท้องเดิน และมี


เลือดปนกับอุจจาระ


ไวรัสเอชไอวี
วัณโรค เกิดจากเชื้อไมโคแบคทีเรีย ทิวเบอร์คิวโลสิส วัณโรคปอดส่วนใหญ่ติดต่อทางการหายใจเอาเชื้อวัณโรคเข้าสู่ปอดโดยตรง วัณโรคสามารถเกิดกับอวัยวะอื่น เช่น สมอง กระดูก และไตได้ สามารถพบว่าวัณโรคเป็นโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเอดส์และโรคซิลิโคสิสอาการวัณโรคปอดเริ่มด้วยอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด มีไข้ต่ำและมีอาการไอ ระยะที่เป็นมากมีอาการหายใจหอบ มีเสมหะปนเลือด เจ็บหน้าอก รายที่เป็นมานานอาจมีอาการนิ้วปุ้ม การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจอาการที่เข้าได้กับ วัณโรคประกอบกับ การตรวจเชื้อในเสมหะ ตรวจความผิดปกติในปอดดว้ ยเอ็กซเรย์ การทดสอบปฏิกิริยาของร่างกายจากการได้รับเชื้อวัณโรค และการตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อโรค การรักษาด้วยยา มีหลายชนิดและวิธีการรักษาโดยใช้ยาแบบต่างๆการรักษาที่ถูกต้องจะทำให้ผู้ป่วยหายจากโรคร้อยละ 85 หรือมากกว่าการควบคุมป้องกันโรคประกอบด้วยการป้องกันระดับปฐมภูมิและระดับทุติยภูมิระดับ


ปฐมภูมิ


- การควบคุมและกำจัดแหล่งแพร่เชื้อ


- การจัดระบบระบายอากาศให้เหมาะสม
- การใช้หน้ากากป้องกันการหายใจเอาเชื้อเข้าไปในร่างกายในขณะปฏิบัติงานที่เสี่ยงระดับทุติยภูมิ
- การเฝ้าระวังทางด้านสุขภาพ การตรวจสุขภาพก่อนทำงาน และการตรวจเป็นระยะ หรือตรวจประจำปี
- การวินิจฉัยโรคในระยะเริ่มแรก
- การหาสาเหตุที่เกิดจากงาน หาแหล่งโรค DNA typingกลไกการเกิดวัณโรคแทรกซ้อน ในโรคซิลิโคสิส มาจากภาวะต้านทานโรคในปอดลดลง โดยเฉพาะเม็ดเลือดขาวในปอดที่มีปริมาณลดลงมาก ทำให้เชื้อวัณโรคเติบโตขึ้น
ข้อพิจารณาในการรักษาผู้ป่วยซิลิโคสิสที่มีวัณโรคแทรกซ้อน
1. ใช้ยาเช่นเดียวกับผู้ป่วยวัณโรคทั่วไป แต่ในบางรายอาจต้องให้ยานานกว่าปกติ
2. ในรายที่ซิลิโคสิสมีอาการรุนแรงมาก การตอบสนองต่อยาวัณโรคอาจจะไม่ดี และโอกาสติดเชื้อดื้อยาจะสูง
3. ผู้ป่วยทุกรายต้องหยุดการรับสัมผัสฝุ่น silica ทันทีโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือโรคซาร์ส เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อโคโรนาไวรัส ติดต่อโดยผ่านทางละออง น้ำลาย และของเหลวที่ขับออกมาจากทางเดินหายใจของผู้ป่วยโดยอาจแพร่โดยการติดไปกับภาชนะ ข้าวของเครื่องใช้ อาการเริ่มแรกคล้ายกับโรคไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่ คือ มีอาการ ไข้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ไม่มีอาการที่เป็นลักษณะเฉพาะของโรค ระยะต่อไป มีอาการไอแห้งๆ หายใจลำบาก อุจจาระร่วงอาการเลวลงอย่างรวดเร็ว หายใจลำบากและออกซิเจนในเลือดลดลง และอาจเสียชีวิตได้ การวินิจฉัยจากอาการของโรคประกอบกับ การตรวจเลือดเพื่อทราบถึงการติดเชื้อ


การตรวจเลือดเพื่อทราบถึงการติดเชื้อไวรัสซาร์ส เพื่อการวินิจฉัยโรค ควรทำเมื่อพบอาการป่วยครั้งแรก และตรวจเลือดอีกครั้ง 3 สัปดาห์ต่อมา ทำได้ 3 วิธี คือ
- ใช้ยา ELISA ตรวจหาแอนติบอดีต้านเชื้อไวรัสซาร์ส เชื่อถือได้ถ้าตรวจหลังการเกิดอาการแล้ว 21 วัน
- ใช้วิธี Immuno fluorescence assay ตรวจหาแอนติบอดีต้านเชื้อไวรัสซาร์ส เมื่อเกิดอาการของโรคแล้ว 10 วัน เป็นวิธีที่ยุ่งยาก ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ และบุคลากรที่มีประสบการณ์
- ใช้วิธี polymerase chain reaction test ตรวจหาสารพันธุกรรมของ เชื้อไวรัสซาร์ส ในไวรัสซาร์ส ปัจจุบันยังไม่พบว่ามีการรักษาที่ได้ผลนักและสามารถใช้วิธีเดียวกับการรักษาโรคปอดบวมที่ไม่ทราบสาเหตุ รวมทั้งการใช้ยาต้านไวรัส การควบคุมป้องกันโรคทำได้โดยการ สวมหน้ากากป้องกันการหายใจเอาเชื้อโรคเข้าไปในร่างกายล้างมือให้สะอาดป้องกันไม่ให้เชื้อโรคติดมือเข้าสู่ร่างกาย ใช้ยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดบริเวณที่ถูกปนเปื้อน สวมถุงมือและอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อเมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคแอนแทรกซ์ เกิดจากเชื้อ บาซิลลัส แอนธราสิส เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนไดห้ ลายทาง เช่นทางผิวหนัง ทางการหายใจและทางการกิน ไม่พบว่ามีการติดต่อจากคนสู่คน อาการที่เกิดมีได้ 3 ลักษณะคือ แอนแทรกซ์ที่ผิวหนัง แอนแทรกซ์ที่ระบบทางเดินอาหาร แอนแทรกซ์ที่ระบบทางเดินหายใจ การวินิจฉัยโรคอาการที่เข้าได้กับโรค ประกอบด้วยประวัติการสัมผัสกับ สัตว์ ที่ป่วยเป็นโรคหรือสิ่งแวดล้อมการทำงานที่มีเชื้อโรคนี้ปนอยู่ การตรวจหาเชื้อในเลือด ในบาดแผลในทางเดินหายใจ และในอุจจาระ การตรวจเลือดหาสารแอนติบอดี้จากเชื้อโรค และการเอ็กซเรย์ปอด การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ การป้องกันโรค ทำได้โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกัน การฉีดวัคซีนป้องกันโรคในสัตว์ กำจัดสัตว์ที่เป็นโรคอย่างเหมาะสม จัดการระบายอากาศป้องกันการฟุ้งกระจายของฝุ่น การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เหมาะสมขณะทำงานเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และการจัดการสุขาภิบาลสถานที่ทำงานอย่างเหมาะสม
ไข้หวัดนก เป็นโรคติดต่อจากนกและสัตว์ปีก เช่น เป็ด ไก่ มาสู่คน เป็นเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ การกลายพันธ์ของเชื้อ ไวรัสไข้หวัดนกเกิดขึ้นเสมอ และอาจทำให้มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นหรือแพร่ระบาดได้ง่ายขึ้น การติดต่อจากคนสู่คนมีน้อยมาก และมักไม่ทำให้เกิดโรค ผู้ป่วยจะมีอาการทางระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย กล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย เจ็บคอ ไอแห้งๆ ในเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัวอาจป่วยรุนแรง หายใจลำบาก ปอดอักเสบ ระบบ หายใจล้มหนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย กล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย เจ็บคอ ไอแห้งๆ ในเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัวอาจป่วยรุนแรง หายใจลำบาก ปอดอักเสบ ระบบ หายใจล้มตรวจหาเชื้อไวรัส การตรวจยืนยัน และการตรวจหาแอนติเจน และเอนติบอดีต่อเชื้อโรคนี้ การรักษาสามารถทำได้โดยการรักษาตามอาการและการใชย้ าต้านไวรัส การควบคุมและป้องกันโรคที่ได้ผลต้องทำการควบคุมป้องกันทั้งในสัตว์และในคนพร้อมกันโรคซิทตาโครสิส หรือไข้นกแก้ว เป็นโรคที่ติดจากนกมาสู่คนโดยเฉพาะในกลุ่มคนงานที่เลี้ยงและขายนก การติดเชื้อมักเกิดจากการสูดหายใจเอาเชื้อโรคเข้าไปในร่างกาย ผู้ป่วยมีอาการคล้ายเป็นไข้หวัด และมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียนท้องเดิน เหงื่อออก ไม่ขอบแสง อาการผิดปกติส่วนใหญ่เป็นที่ปอด แต่สามารถทำให้เกิดอาการผิดปกติของอวัยวะอื่นๆ ได้เช่นทำให้เกิดการอักเสบของตับ หัวใจ และสมอง การวินิจฉัยนอกจากพิจารณาอาการของโรคและประวัติการสัมผัสกับสัตว์ที่ป่วยเป็นโรคนี้ หรือมีสภาพแวดล้อมการทำงานที่เสี่ยงต่อการได้รับเชื้อโรคนี้แล้ว ยังใช้ข้อมูลการทดสอบเลือด การเอ็กซเรย์ทรวงอก ร่วมด้วย การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะได้ผลดี การควบคุมป้องกันโรค ต้องดูแลไม่ให้นกป่วยเป็นโรค เมื่อมีนกป่วยต้องแยกไปรักษา และหากตายต้องกำจัดซากอย่างเหมาะสม ดูแลกรงนกให้สะอาดและมีการไหลเวียนอากาศที่ดี รักษาความสะอาดของที่เลี้ยงนก ผู้เลี้ยงนกควรสวมถุงมือ และหน้ากากป้องกันฝุ่นในขณะทำงานและล้างมือทำความสะอาดร่างกายทุกครั้งหลังจับต้องกับนกโรคคิวฟีเวอร์ เกิดจากเชื้อริกเก็ตเซียที่ติดต่อมาจากสัตว์ประเภท วัว ควาย แพะ แกะ สุนัข แมว และจิงโจ้ โดยทางการสูดหายใจฝุ่นละอองที่มีเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย หรือสัมผัสกับสิ่งปนเปื้อนเชื้อโรคขณะฆ่าและชำแหละสัตว์ที่มีเชื้อโรคนี้ รวมถึงการดื่มนมที่ไม่ได้ฆ่าเชื้อของสัตว์ที่มีเชื้อโรคนี้ มักพบโรคนี้กับคนงานในอุตสาหกรรมผลิตเนื้อ และคนงานดูแลปศุสัตว์ คนรีดนมวัว ฟอกหนัง ตัดขนแกะตลอดจนสัตวแพทย์ อาการป่วยมีทั้งแบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรังซึ่งมีลักษณะคล้ายไข้หวัด แต่มักพบว่ามีอาการเนื้อเยื่อหัวใจอักเสบและตับอักเสบร่วมอยู่ด้วย การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจอาการป่วย ประวัติและการสัมผัสเชื้อโรคนี้ และการตรวจหาสารแอนติบอดีที่ร่างกายสร้างขึ้นมาต่อต้านเชื้อโรคนี้ การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะได้ผลดี การควบคุมป้องกันโรคทำได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคในคนกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อ การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล สุขวิทยาส่วนบุคคลและการสุขาภิบาลที่ดีของสถานที่ทำงาน ตลอดจนการป้องกันไม่ให้สัตว์ติดเชื้อ การดูแลรักษา สัตว์ป่วยอย่างเหมาะสม โรคเลปโตรสไปโรสิส หรือโรคฉี่หนู เป็นโรคที่เกิดได้ในคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัข แมว สุกร ควาย ม้า แพะ แกะและหนู แต่ในสัตว์อาจไม่แสดงอาการป่วย เชื้อนี้สามารถทนอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานนับเดือนหากมีปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม เชื้อโรคนี้ติดต่อจากสัตว์ที่มีเชื้อมาสู่คนโดยทางปัสสาวะ และเข้าสู่ร่างกายคนโดยเข้าทางผิวหนังเป็นส่วนใหญ่ แต่สามารถเข้าทางการหายใจเอาละอองน้ำที่มีเชื้อโรคนี้ปนอยู่เข้าไปได้เช่นกัน ผู้ประกอบอาชีพที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ คือ เกษตรกร ชาวนา ชาวสวนที่ทำงานในที่มีน้ำท่วมขัง อาการของโรค มักเป็น สองช่วงคือ มีอาการไข้สูงหลังได้รับเชื้อ ปวดศีรษะและกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อาเจียน ตาแดง อาจมีผื่นตามผิวหนัง ตับและม้ามโต ต่อมาอาการไข้ลดลง 1-2 วัน และกลับมีไข้อีก เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ตับและไตทำงานผิดปกติ และอาจเสียชีวิตได้ การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจดูอาการป่วย ประวัติการรับสัมผัสของเชื้อโรคนี้ และการตรวจหาสารแอนติบอดีในร่างกายสร้างขึ้นมาต่อต้านเชื้อโรคนี้ การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะได้ผลดี การควบคุมป้องกันโรคทำได้โดยการป้องกันกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อ การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล สุขวิทยาส่วนบุคคลและการตรวจหาเชื้อในน้ำบริเวณที่ต้องลงไปทำงาน ตลอดโดยการป้องกันไม่ให้สัตว์ติดเชื้อโดยการฉีดวัคซีน การกำจัดหนู การดูแลรักษาสัตว์ป่วย การกำจัดซากสัตว์ป่วยอย่างเหมาะสมโรคบรูเซลโลสิส เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ติดต่อจากสัตว์ประเภท วัว ควาย แกะ อูฐ สุนัข สุกร มาสู่คน โดยทางการกิน ทางสัมผัสที่ผิวหนังและเยื่อบุชุ่ม โดยการหายใจ และโดยอุบัติเหตุจากของมีคมที่ปนเปื้อนทิ่มแทง อาการป่วยประกอบด้วย การมีไข้สูงๆ ต่ำ เบื่ออาหาร ปวดศีรษะปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ หนาวสั่น ไอ เจ็บหน้าอก อาการต่างๆ เป็นๆ หายๆ ตลอดปี รวมทั้ง มีอาการตับอักเสบด้วย การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจอาการป่วย ประวัติการได้สัมผัสเชื้อโรคนี้ และการตรวจหาสาร แอนติบอดีที่ร่างกานสร้างขึ้นมาต่อต้านเชื้อโรคนี้ การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะได้ผลดี การควบคุมป้องกันโรคทำได้โดยการ ป้องกันกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อ การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล สุขวิทยาส่วนบุคคลและการสุขาภิบาล ทำงาน ตลอดจนการป้องกันไม่ให้สัตว์ติดเชื้อโดยการฉีดวัคซีน สัตว์เลี้ยงที่เสี่ยงต่อโรค ตรวจเลือดและน้ำนมของสัตว์ที่เลี้ยงเพื่อการบริโภคอย่างสม่ำเสมอ การดูแลรักษาสัตว์ป่วย และการกำจัดซากสัตว์ป่วยอย่างเหมาะสมโรคจากการประกอบอาชีพที่เกิดจากสิ่งคุกคามทางชีวภาพในกลุ่มพืชและอื่นๆโรคจากฝุ่นไม ้มีสาเหตุมาจากสารเคมีที่มีอยู่ในเนื้อไม้ทั้งตามธรรมชาติ และที่ใส่เข้าไปโดยมนุษย์ ละจากเชื้อราที่ขึ้นอยู่บนไม้ ผู้เสี่ยงต่อโรคคือผู้ประกอบอาชีพเกี่ยงข้องและสัมผัสกับไม้ กลไกการเกิดโรคมีได้ 2 ทางคือ เกิดจากสารเคมีหรือเชื้อราที่อยู่ในเนื้อไม้ เข้าไปทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อ ไม่ว่าจะโดยทางการหายใจ หรือการสัมผัสทางผิวหนังและเยื่อบุชุ่มรวมทั้งเยื่อนัยน์ตานำไปสู่การเกิดการระคายเคือง การแพ้ และการเป็นมะเร็งได้ และเกิดจากการเสียดสีของฝุ่นกับเนื้อเยื่อ ทำให้เป็นแผลอักเสบและติดเชื้อตามมา อาการของโรคประกอบด้วย การระคายเคืองการกระตุ้นให้เกิดการแพ้ และการเกิดมะเร็ง การวินิจฉัยโรคประกอบด้วย การพิจารณาอาการปกติที่พบ การวินิจฉัยอาการภูมิแพ้ของทางเดินหายใจ และการประเมินภูมิแพ้ของผิวหนัง การรักษาประกอบด้วย การรักษาตามอาการ และการหยุดการได้รับสัมผัสกับไม้หรือฝุ่นไม้ การควบคุมป้องกันประกอบด้วย การควบคุมป้องกันการฟุ้งกระจายของฝุ่นจากแหล่งกำเนิด การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลการเฝ้าระวังด้านสุขภาพและการเฝ้าระวังด้านการแพทย์โรคลีเจียนแนร์ หรือโรคบอกอักเสบลีเจียนแนร์ เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียเฉียบพลัน ตั้งชื่อโรคเมื่อ ค.ศ. 1976 เนื่องจากมีการระบาดของโรคนี้ในการประชุมของทหารเหล่าผสม ของประเทศสหรัฐอเมริกา เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย การติดโรคเกิดการสูดหายใจละอองน้ำที่ปนเปื้อนด้วยเชื้อเข้าไปในร่างกาย ยังไม่พบว่ามีการติดต่อจากคนสู่คน แหล่งแพร่เชื้อโรคที่สำคัญในปัจจุบันคือ ในระบบระบายความร้อนของระบบระบายอากาศรวม อาการผิดปกติมีสองลักษณะคือ โรคลีเจียนแนร์และโรคไข้ปอนเตียก สำหรับโรคลีเจียนแนร์จะมีอาการของการอักเสบที่อาจลุกลามไปกินปอดทั้งสองข้างทำให้การหายใจล้มเหลว และเสียชีวิต โรคไข้ปอนเตียกมักจะไม่มีอาการของปอดบวมหรือเสียชีวิต ผู้ป่วยจะหายได้เองภายใน 2-5 วัน การวินิจฉัยต้องอาศัยการแยกเชื้อต้นเหตุ จากเนื้อเยื่อ หรือน้ำมูก น้ำลาย หรือตรวจพบแอนติเจนของเชื้อ และอาศัยการทดสอบทางการแพทย์ประกอบด้วย การตรวจเชื้อแบคทีเรียในปัสสาวะ การเอ็กซเรยน์ปอด การตรวจปริมาณก๊าซในเลือด การตรวจนับเม็ดเลือดทุกชนิดรวมทั้งเม็ดเลือดขาว การทดสอบิอัตตาการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง การตรวจสมรรถภาพการทำงานของตับ และการตรวจแอนติบอดีในเสมหะ การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะได้ผลดีมาตรการควบคุมป้องกันโรคประกอบด้วย มาตรการควบคุมโรคที่แหล่งกำเนิด มาตรการควบคุมผู้ป่วย ผู้สัมผัส และสิ่งแวดล้อม และมาตรการเมื่อเกิดมีระบาดโรคพยาธิปากขอ เกิดจากพยาธิปากขอ สองชนิด คือ Necator americanus และAncyclostoma duodenale ผู้ประกอบอาชีพที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคที่สำคัญคือเกษตรกร โดยเฉพะชาวสวนยางพาราในภาคใต้ การติดเชื้อพยาธิปากขอเกิดจากตัวอ่านในระยะติดต่อของพยาธิที่อาศัยอยู่ในดินที่ปนเปื้อนด้วยไข่พยาธิ ไชผ่านผิวหนังสู่ร่างกายแล้วเข้าสู่หลอดเลือดดำ ไปเจริญเติบโตเป็นตัวแก่ในลำไส้เล็ก ตัวอ่อนในระยะติดต่อของพยาธิที่ปะปนอยู่กับอาหารและน้ำสามารถเข้าสู่ร่างกายได้เช่นกัน อาการของ